-
โครงการพัฒนาตามหลักค่านิยมองค์กร
(MED CMU Core value ) ตัวย่อ: CQITวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์สามารถปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร “CQIT”
C: Customer Focus มุ่งเน้นผู้รับบริการ
Q: Quality ทำงานมีคุณภาพ
I: Innovation ซึมซาบนวัตกรรม
I: Integrity คุณธรรมคู่ความดี
T: Teamwork ทีมสามัคคี มีผลงาน -
โครงการพัฒนาความรู้เฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
(Functional Competency) ตัวย่อ: FCวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
โครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาความรู้เฉพาะตามสายอาชีพหรือลักษณะงานที่ปฏิบัติ ให้เกิดความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในงานที่ปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่ วางไว้ และเกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ ในการทำงาน
-
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาตามสมรรถนะหลัก
(Core Competency) ตัวย่อ: CCวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์มีสมรรถนะพื้นฐานตามที่คณะฯ กำหนด
โครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะหลักที่บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ทุกคนพึงมี เป็นสมรรถนะพื้นฐานที่จะนำองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสมรรถนะหลักประกอบไปด้วย 5 สมรรถนะ ได้แก่
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement)
การบริการที่ดี (Service Mind)
การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)
การยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรม และจริยธรรม (Integrity) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) -
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาตามสมรรถนะด้านการบริหาร
(Managerial Competency) ตัวย่อ: MCวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์มีความสามารถในการบริหารจัดการ
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาตามสมรรถนะด้านการบริหาร เพื่อสนับสนุนผู้บริหารทุกระดับให้มีทักษะด้านการบริหารจัดการเพื่อให้องค์กรบรรลุตามยุทธศาสตร์ และเป้าหมายที่ได้กำหนด ซึ่งสมรรถนะด้านการบริหารประกอบไปด้วย 6 สมรรถนะ ได้แก่
สภาวะผู้นำ (Leadership)
วิสัยทัศน์ (Visioning)
การวางกลยุทธ์ (Strategic Orientation)
ศักยภาพเพื่อนำการปรับเปลี่ยน (Change Leadership)
การควบคุมตนเอง (Self Control)
การสอนงานและการมอบหมายงาน (Coaching and Empowering Others) -
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
(Language and Communication Skills) ตัวย่อ: LCวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษาและการสื่อสารกับผู้อื่น หรือทีม ส่งเสริมความสามารถในการรับ-ส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาและถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร อาทิ เช่น
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication skill)
การเจรจาต่อรอง (Negotiation skill)
การบริหารความขัดแย้ง (Conflict management)
ความสามารถในการมีอิทธิพลทางความคิด (Influencing and leading to goals)
การทำงานร่วมกัน (Collaboration) -
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กร
(Powered Skills) ตัวย่อ: PSวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์มีความรู้และทักษะที่สามารถช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กร
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะที่ส่งเสริมให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานบรรลุได้ตามกลยุทธ์ของคณะฯ อาทิ เช่น
Non-Technical Skills
การคิดเชิงวิพากษ์ & การวิเคราะห์ (Critical thinking & Analysis)
ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Behavioral Flexibility & Adaptability)
ความคิดสร้างสรรค์และการริเริ่มสิ่งใหม่ (Creativity, originality & initiative)
การบริหารคุณภาพ (Quality Management) -
โครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านดิจิทัลและนวัตกรรม
(Digital Transformations and Innovation) ตัวย่อ: DIวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์สามารถนำความรู้และทักษะด้านดิจิทัลและนวัตกรรมมาปรับใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและนวัตกรรม อาทิเช่น
ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)
การรู้สารสนเทศ (Information literacy)
ทักษะการใช้ ดูแล และจัดการเทคโนโลยี (Technology use, Monitoring & Control)
การคิดเชิงวิเคราะห์และนวัตกรรม (Analytical Thinking & Innovation) -
โครงการพัฒนาและฝึกอบรม
(Organization Development) ตัวย่อ: ODวัตถุประสงค์: บุคลากรคณะแพทยศาสตร์สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายขององค์กร
โครงการพัฒนาและฝึกอบรม ที่ส่งเสริมให้การดำเนินการขับเคลื่อนองค์กร และการพัฒนาระบบบริหารงานแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานและบุคลากรในองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน